เมนู

แล้วเข้าจำพรรษาในปีนั้นไซร้. มารก็พึงดลใจชาวอุดรกุรุทวีปหรือไตรทศบุรี
แม้นั้นได้. ได้ยินว่า มารนั้น ได้เป็นผู้มีจิตถูกความอาฆาตเข้ากลุ้มรุมอย่างยิ่ง
ตลอดศกนั้น, ส่วนในเมืองเวรัญชานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทอดพระเนตร
เห็นเหตุการณ์นี้ได้เป็นอย่างดีว่า พวกพ่อค้าม้า จักทำการสงเคราะห์ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงทรงเข้าพรรษาในเมืองเวรัญชานั่นแล.

[มารได้สามารถทำอันตายแก่ปัจจัย 4 ได้]


ถามว่า ก็มาร ไม่สามารถจะดลใจพวกพ่อค้าได้หรือ ?
แก้ว่า จะไม่สามารถ ก็หามิได้ แต่เพราะพ่อค้าเหล่านั้นได้มาใน
เมื่อประชาชนถูกมารดลใจเสร็จสิ้นลงแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร มารจึงไม่กลับมาดลใจอีกเล่า ?
แก้ว่า เพราะไม่เป็นวิสัย จึงไม่กลับมา.
จริงอยู่ มารนั้น ย่อมไม่อาจเพื่อทำอันตราย แก่ภิกษุที่บุคคลนำไป
เฉพาะพระตถาคต แก่นิพัทธทาน แก่วัตถุทานที่บุคคลกำหนดถวายไว้แล้ว.
ความจริง ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่ปัจจัย 4 ได้. แก่ปัจจัย 4
เหล่าไหน ? ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่ปัจจัย 4 เหล่านี้ คือ :-
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่นิพัทธทาน โดยสังเขปว่า ภิกษา
ที่บุคคลนำไปเฉพาะพระตถาคต หรือแก่ปัจจัย 4 ที่บุคคลบริจาคแล้วแต่
พระตถาคตโดยสังเขปว่าวัตถุทานที่บุคคลกำหนดถวายไว้แล้ว 1.
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระชนมชีพ ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายได้ 1,

ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระอนุพยัญชนะ 80 หรือแก่
พระรัศมี ที่ซ่านออกข้างละวาได้. จริงอยู่ รัศมีแม้แห่งพระจันทร์ พระอาทิตย์
เทวดาและพรหม พอไปถึงประเทศแห่งพระอนุพยัญชนะและพระรัศมีที่ซ่าน
ออกข้างละวา ของพระตถาคตแล้ว ก็หมดอานุภาพไป 1,
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระสัพพัญญุตญาณ ของพระ
พุทธเจ้าทั้งหลายได้ 1 (รวมเป็น 4 อย่าง ด้วยประการฉะนี้).
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้ง
พระสงฆ์สาวกเสวยและฉันภิกษา ที่มารทำอันตรายไม่ได้ในคราวนั้น.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสิ่งที่เป็นประโยชน์]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเสวยอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง (ได้ทรง
สดับเสียงครกแล).
หลายบทว่า อสฺโสสี โข ภควา อุทุกฺขลสทฺทํ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้ทรงสดับเสียงครก ที่เกิดเพราะสากกระทบ (ครก) ของพวก
ภิกษุผู้โขลกตำข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ อยู่. พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวคำเป็นต้น ซึ่งมีต่อจากคำนั้นไปอย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลาย แม้
ทรงทราบอยู่ ดังนี้ ก็เพื่อแสดงการเฉลยพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามข้างหน้าว่า ดูก่อนอานนท์ ! นั้นเสียงครกหรือหนอแล ?
ในคำเหล่านั้น มีการพรรณนาโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :-
ธรรมดาว่า พระตถาคตทั้งหลาย แม้เมื่อทรงทราบอยู่ ถ้าเหตุแห่ง
การถามเช่นนั้น มีอยู่ไซร้ จึงตรัสถาม, แต่ถ้าเหตุแห่งการถามเช่นนั้น ไม่มี
ไซร้, ถึงทราบอยู่ ก็ไม่ตรัสถาม. ก็เพราะขึ้นชื่อว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่ทรงทราบ ไม่มี, เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวคำว่า แม้เมื่อไม่รู้.